8. การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตแบบเครือข่ายสังคม
Social Media หรือ สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง
สื่อดิจิทัลหรือซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของระบบเว็บหรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตที่
เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม
ที่มีผู้สื่อสารจัดทำขึ้น โดยที่ผู้เขียนจัดทำขึ้นเองหรือพบเจอสิ่งต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวต่างๆ เหตุการณ์ บทความ
ประสบการณ์ รูปภาพ วิดีโอและเพลง
แล้วนำมาแบ่งปัน เนื้อหา ข้อมูลข่าวสาร
ประสบการณ์ และพูดคุยให้ ผู้ใช้ในโลกออนไลน์ในเครือข่ายของตนได้รับรู้
ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง
กับคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว
มีประสิทธิภาพรวมถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน (อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง, 2553)
สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่เรียกว่า เว็บ2.0 (Web 2.0) คือ เครื่องมือต่างๆ
ที่ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่อนุญาตให้แต่ละบุคคลเข้าถึง
แลกเปลี่ยน สร้างเนื้อหา และสื่อสารกับบุคคลอื่นๆ
และการเข้าร่วมเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
หรือการสื่อสารของหน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรต่างๆ (Williamson, Andy
2013: 9)
การสื่อสารของสื่อสังคมออนไลน์ มีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง
ซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญ กล่าวคือ
1) มีรูปแบบการทำงานในลักษณะออนไลน์
2) สามารถที่จะใช้สร้างและเพิ่มเติมเนื้อหาได้
3. พัฒนาการและชนิดของสื่อสังคมออนไลน์
พัฒนาการของสื่อสังคมออนไลน์ นับแต่มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ
1990
ทำให้เกิดเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างและนำเสนอเนื้อหาได้ด้วยตนเองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
เช่น ในปี 1997 Six Degrees.com เป็นเว็บไซต์แรกที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีให้บริการ และตั้งแต่ปี2002
เป็นต้นมา ได้มีการสร้างและขยายจำนวนสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
โดยมีทั้งสื่อสังคมออนไลน์ที่เปิดกว้างแก่ทุกกลุ่มเป้าหมายและเฉพาะกลุ่มผู้สนใจเฉพาะด้าน
เช่น Friendster และ Hubculture ต้นทศวรรษ2000
สื่อสังคมออนไลน์มีการขยายตัวการใช้งานหลากหลายมากขึ้น
บางสื่อมีจำนวนผู้ใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นFacebook ในเดือนกันยายน2556 พบว่า มีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลก1.19 พันล้านคนTwitter
เดือนกันยายน2556 มีจำนวนผู้ใช้ มากกว่า230 ล้านคน เป็นต้น (Facebook.com. 2013 และtwitter.com.
2013)
ปัจจัยที่มีผลส่งให้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น
1. ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย
การปรับปรุง พัฒนาโปรแกรม รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์
และมือถือให้มีประสิทธิภาพและการใช้งานได้หลากหลายขึ้น
3. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
การซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์เพิ่มขึ้น
เนื่องมาจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในขณะที่ราคาถูกลง
รวมทั้งการให้ความสนใจต่อการนำสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้น (Dewing,
Michael. 2013: 2)
ข้อดี– ข้อเสียของสื่อสังคมออนไลน์
การนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
โดยรวมแล้วการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้นั้น ส่วนใหญ่เพื่อเป็นการส่งเสริมแนวความคิด
สนับสนุนและขยายวิธีการสื่อสารและการจัดกิจกรรมต่างๆ
เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ทั่วถึงมากขึ้น และสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ใช้มากขึ้น
แต่การนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้ (Williamson, Andy 2013: 9-10)
ข้อดี
1. สามารถใช้สร้างเป็นพื้นที่ในการสนทนา/สื่อสารแก่สาธารณะได้
2. หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ
สามารถเข้าไปใกล้ชิดกับสาธารณชนมากขึ้น
3.
สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ
4. สนับสนุนความโปร่งใส
และธรรมาภิบาล
5.
สร้างโอกาสให้บุคคลหรือกลุ่มที่3 ในการเข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนเผยแพร่
6.
การส่งต่อข้อมูลในลักษณะทำซ้ำตัวเองเป็นทอดๆ (Viral distribution) ทำให้มีการกระจาย ข้อมูลอย่างรวดเร็ว
7. ลดต้นทุนการดำเนินการ
8.
ช่วยให้เข้าใจความคิดเห็นของประชาชนได้มากขึ้น
9.
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา
10. ลดเวลาที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารลง
11. สามารถที่จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการสื่อสาร
และเป็นสื่อกลางในการขยายการ เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และเผยแพร่ข่าวสาร
ข้อเสีย
1. มารยาท
และรูปแบบการใช้งานแตกต่างจากสื่อรูปแบบอื่น
2.
มีความเสี่ยงของความไม่แท้จริง การหลอกลวง ความซื่อสัตย์และความไม่โปร่งใสในการใช้ งาน
3.
มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและอยู่เหนือการควบคุมของเจ้าของ
4. การหาเครือข่ายใหม่
การสร้างเรื่องใหม่ ๆเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ เท่าใดและไม่มีการรับรองผลว่าการสื่อสารจะเกิดขึ้นและส่งสารไปยังผู้รับสื่อ
5.
สื่อสังคมออนไลน์ไม่ใช่ทางลัดที่ มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องนำสื่อหลักและ หลักการสื่อสารที่ดีมาใช้ควบคู่กันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น